目的
วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557
มีโอกาสได้ใช้แล้ว!!
เมื่อวานได้มีโอกาสคุยกับคนญี่ปุ่นคนนึง ซึ่งก็ได้ถามเขาว่า วันอาทิตย์เขาได้ไปเที่ยวไหนรึป่าว เพราะคิดว่า คนญี่ปุ่น วันหยุดเขามักจะออกไปเดินห้าง หรือไปเล่นกีฬา มั้ง(ในความคิด ฮ่าๆ)เขาก็บอกว่า วันนี้เขาไปเดินจตุจักรมา ร้อนมากและคนก็เยอะมากด้วย คนต่างชาติก็เยอะเช่นกัน ตัวเองก็เลยตอบกลับไปว่า ไม่ได้ไปจตุจักรมา 4 ปีแล้ว ซึ่งในหัวตอนนั้น คิดว่า ประโยคนี้แหละ!สามารถใช้ประโยคในรูปアスペクトได้แน่นอน ก็เลยตอบเขาไปด้วยประโยคว่า 「私、4年間もそこに行っていません。」 ซึ่งในประโยคนี้คิดว่า มันจะแสดง ระยะเวลา 4 ปี จนถึงปัจจุบัน ว่า เป็นสภาพที่ไม่ได้ไปมา 4 ปีแล้วจนถึงตอนนี้ ในตอนแรกจะจบประโยคด้วย ました แต่มานั่งคิดว่า ถ้าจบด้วย ました แสดงว่า มันจะพูดถึง สภาพระยะเวลาช่วงหนึ่งในอดีต ซึ่งจบไปแล้ว แต่เราไม่ได้ต้องการสื่อความหมายอย่างนั้น จึงเลือกจบด้วย ประโยคเหตุการณ์ปัจจุบันแทนน ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงจบประโยคด้วย 行きませんでした แน่ๆเลยย เพราะเป็นรูปประโยคที่มั่นใจว่า ถูกชัวร์!!
ได้ใช้รูปประโยคアスペクトแล้วค่าาาาา
วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557
タスク4 「飛行機」
คราวนี้อ.ก็ได้ให้อธิบายภาพเหมือนกับคราวที่แล้ว ซึ่งคราวนี้ไม่ใช่เล่าเรื่องให้ตลก แต่เป็นการใช้รูปแบบประโยค ประมาณว่า ถ้าทำอย่างนั้นในอดีตก็คงจะ..... หรือ ดีนะ ที่ไม่ได้ทำอย่างนั้น เหมือนเป็นการสมมุติเหตุการณ์ในอดีต
ก่อนอื่นก็มาเล่าเรื่องย่อกันก่อน เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ชายผู้หนึ่งที่จะต้องขึ้นเครื่องไปที่ไหนซักแห่ง ปรากฏไปขึ้นเครื่องไม่ทัน ก็เลยตกเครื่องคะ! และพอกลับมาบ้านก็เปิดทีวีดู เจอข่าวเกี่ยวกับเครื่องบินตก ซึ่งเครื่องบินลำนั้นก็เป็นเครื่องบินที่ตัวเองจะต้องขึ้นซะด้วย ก็เลยโชคดีไปที่ไม่ได้ขึ้นเครื่อง มิเช่นนั้นคงจะตายไปแล้วแหงๆ
และข้างล่างนี้ก็เวอร์ชั่นที่ตัวเองเล่าให้เพื่อนฟังค่า
ねえ、ねえ、昨日、私の兄はアメリカに行く予定があったんだ。でも、彼は朝寝坊しちゃって、飛行機に乗るのを間に合わなかった。それで、彼は家に帰って、悲しそうな顔をした。夕食を食べながらテレビを見て、ショックなニューズを放送していた。そのニューズは、彼が乗る予定の飛行機が川に落ちちゃったんだ。もし彼はあの飛行機に乗ったら、死ぬかもしれないよね。
พูดนิดเดียวยังผิดตรึมค่า ฮ่าๆๆๆ ถ้าลองมานั่งดู ก็เจอปัญหาที่เคยผิดมาก่อนหน้านี้ด้วยนะเนี่ยยย
1. 飛行機に乗るのを間に合わなかった ผิดคำช่วยเต็มลูกตา!!ต้องใช้คำช่วย にกับกริยา 間に合うนะคะ
2. 夕食を食べ ผิดกริยานะคะ ถ้าจะใช้ 夕食 ต้องใช้คู่กับกริยา するเสมอ แต่ถ้าจะใช้ 食べる ก็ควรใช้กับ ご飯 นะคะ
3. テレビを見て、ショックなニュースを放送していた ผิดเหมือนกับคราวก่อนเลยยยย นั่นก็คือ ประโยคนี้ มีประธานคนละตัวกัน จึงไม่สามารถเชื่อมประโยคกันด้วย คำเชื่อม てได้ จึงต้องแบ่งเป็น 2 ประโยค คือ テレビを見たんだ。ショックなニュースを放送していた/が放送されていた。
4. そのニューズは、彼が乗る予定の飛行機が川に落ちちゃったんだ ประโยคนี้ ขึ้นต้นด้วยคำนาม ต้องจบด้วยคำนามนะคะ จำไว้ให้ขึ้นใจ! เริ่มต้นด้วยคำนามไม่สามารถจบประโยคด้วยกริยาได้คะ และต้องคำช่วย のควรจะแก้เป็น 予定があるใช้คำช่วยのในประโยคนี้ “เครื่องบินของตารางที่เขาจะขึ้น” มันแปลกมากคะ ฮ่าๆๆ สรุปคือ ใช้คำช่วยผิดนั่นเองง ดังนั้นทั้งประโยคควรจะแก้เป็น そのニューズによると、彼が乗る予定がある飛行機が川に落ちちゃったんだということだ。 ------------- เสริมคะ คำว่า เครื่องบินตก ในภาษาญี่ปุ่น คือ 飛行機が墜落する
5. 飛行機に乗ったら、死ぬかもしれないผันกริยาผิดนะคะ ถ้าแปลตามที่เขียนคือ ถ้าขึ้นเครื่องบินอาจจะ(จะ)ตาย ซึ่งมันไม่ใช่ มันต้องเป็นว่า ถ้าขึ้นเครื่องก็จะตาย (ตายจริงๆ ไม่ใช่ จะตาย) ดังนั้นจึงควรจะแก้เป็น飛行機に乗ったら、死んでいたかもしれない สามารถใช้ เป็น 死んでいたได้ โดยจะให้ความหมายลึกซึ้งลงไปอีก คือ ตายสนิท แต่จะใช้ 死んでいるก็ได้เช่นกัน โดยจะให้ความมหายเป็น สภาพว่า “ตาย”ซึ่งเป็น アスペクトโดยอาจจะจบประโยคด้วย だろうซึ่งเป็นการสมมุติเหตุการณ์ในอดีต รูปประโยคคือมันจะใช้ คือ
(もし) 。。。すれば/したら。。。ている/ていた + だろう
ในหัวข้อนี้มีการใช้アスペクトที่น่าสนใจมากหลายจุด
あなたが結婚するころには、私はもう死んでいるわよ。
死んでいるเป็นการสมมุติเหตุการณ์ในอนาคต และบอกสภาพว่า ตอนนั้นคงตายแล้ว (สภาพว่า“ตาย”)
バッハは沢山の曲を作曲している。
作曲している เป็นการอธิบายถึงประวัติศาสตร์ แม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะจบสนิทไปเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ถ้าเป็นการอธิบายเหตุการณ์ในอดีตสามารถใช้รูป ているได้
その本は何年も読んでいる。
読んでいる เป็นการบันทึกเหตุการณ์ของตัวเอง เป็นระยะเวลายาว
あの人は去年アメリカに3回行っている。
行っているผู้พูดต้องการlink มาถึงปัจจุบัน โดยเป็น record ว่า จนถึงตอนนี้ ไปมาแล้ว 3 ครั้ง นะ ถ้าใช้เป็น行っていた จะให้ความหมายว่า ในอนาคตจะไม่ไปแล้ว
จากด้านบนจะเห็นวิธีการใช้ アスペクト3 อย่าง เพื่อสื่อความหมายให้ลึกซึ้งมากขึ้น จะพยายามเอาไปใช้ค่า
タクス 3 「それは秘密です」
คราวนี้อ.ได้ให้ลองเล่าเรื่องราวจากภาพให้เพื่อนฟัง โดยเน้นย้ำว่า ต้องเล่าให้สนุกด้วยนะ! เล่าให้สนุกหรอ เล่าอย่างไรดีละ
งั้นมาพูดถึงเรื่องย่อๆกันก่อน เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่ง ถูกแฟนหนุ่มนรู้ความจริงว่า แท้จริงแล้วเธอไม่ใช่สาวสวยมาตั้งแต่เกิด แต่เธอสวยด้วยมีดหมอทั้งหมด!! แต่สิ่งที่น่าตกใจไปกว่าการทำศัลยกรรมของเธอแล้ว นั่นก็คือ แฟนของเธอหัวล้าน และใส่วิกมาโดยตลอด!!!!!!! โอ้ววว พูดได้คำเดียว ช็อก!!!!
นี่คือเวอร์ชั่นแบบพูดสด ผิดตรึมม
ねえ、ねえ、私たちのクラスメートのエーちゃんが知ってる?あの人はとっても美人な人だよね。でも、実は整形したそうだよ。それを言っても、エーちゃんの彼氏はかっこよくて、親切な人だよね。でもね、昨日、私は教室を掃除していた時、あの二人の話を聞いたんだ。その時、エーちゃんは彼氏と話していて、田中先生に呼ばれた。彼はエーちゃんを待っている時、彼女の財布を開けて、彼女の整形していない写真を見ちゃった。エーちゃんはそれを見て、大きい声で「大ピンチ」と言った。どうしたらいいか全然分からなかった。でも、エーちゃんの彼氏は「そんな事を心配しなくていいのに」と言った。そして、彼はカツラを取って、はげ頭になっちゃった。エーちゃんはショックそうな顔をしていた。私はそれを見て、我慢できなくて、笑っちゃったんだ。
หลังจากได้ประสบปัญหาความผิดผลาดมามากมายตามตัวแดงด้านบน เราก็จะมาดูกันว่า เราจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง ฮ่าๆ
1. エーちゃんが知ってる? มันควรเป็นคำช่วย をนะคะ พลาดได้อย่างไรกันนน
2. あの人は ตอนที่พูด ตัวเราคิดว่า พูดฟังน่าจะรู้จักตัวละครที่เรากำลังพูดถึง เลยเลือกที่จะให้ あのเพราะรู้จักกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่จากที่ได้เกริ่นมาตอนแรก เราถามผู้ฟังว่า รู้จักมั๊ย ก็แสดงว่า เราคิดว่า ผู้ฟังไม่รู้จักคนคนนี้แน่เลย ดังนั้นมันจึงขัดแย้งกันเล็กๆ จึงควรจะแก้ไขตรงนี้เป็น その人 น่าจะดีกว่านะ
3. 美人な人 ตรงคำว่า な人 ไม่จำเป็นต้องใส่แล้ว เพราะคำว่า 美人 มันก็แสดงความหมายว่า คนสวย แล้ว
4. それを言っても สิ่งที่ตั้งใจจะพูดก็คือ แม้ว่าจะพูดอย่างนั้นก็เถอะ เลยแปลตามประโยคของภาษาไทยมาเลย และก็ไม่รู้ว่า ในภาษาญี่ปุ่นพูดได้หรือเปล่า ปรากฏลองหาดู ไม่มีรูปประโยคแบบนี้เลย เลยคิดว่า ควรจะลองเปลี่ยนรูปแบบประโยคใหม่ดู นั่นก็คือ そのおかけで、かっこよくて、親切な彼氏が出来たの。
5. 掃除していた ตอนแรกที่ใส่ ていたก็เพราะว่า นึกถึงการกระทำในช่วงเวลาหนึ่ง ในอดีต เลยตัดสินใจเลือกใช้ไวยกรณ์ ていたแต่ในประโยคนี้ควรจะแก้เป็น ているเพราะการบอกเรื่องราวในอดีตของเราจะแสดงให้เห็นอยู่ที่ถ้ายประโยคแล้ว
6. あの二人 การเลือกใช้ あตรงนี้นั้น เหตุผลเดียวกับที่ผ่านมาเลยคือ คิดว่า ผู้ฟังรู้จักทั้งคู่แล้ว จึงเลือกใช้ あ แต่ในประโยคเกริ่น เรากำลังเล่าเรื่องใหม่ให้ผู้ฟัง ดังนั้นเราจึงควรใช้ その二人มากกว่า
7. 話していて、田中先生に呼ばれた อ.บอกว่า กริยา 2 ตัวนี้ มันดูงงๆ เหมือนไม่เชื่อมโยงกัน หรือยังไง เพราะมี ? มา ซึ่งตัวเองก็ไม่รู้ด้วยว่า ต้องแก้ไขอย่างไร ฮ่าๆ ต้องไปถามหาผู้รู้และมาตอบคำถามนี้ให้ได้แล้ว!!(ติดคำตอบเอาไว้ก่อนนะ เดี๋ยวจะหาคำตอบมค่า)
8. 整形していない写真 ประโยคนี้ไม่ควรจะผิดเลยยย เพราะมันเป็นอดีตไปแล้ว ผู้หญิงคนนี้ได้ทำศัลยกรรมไปแล้ว ดังนั้นจึงควรแก้เป็น整形していなかった写真 หรือ 昔の写真 ก็สามารถพูดได้เช่นกัน
9. エーちゃんはそれを見て ที่เลือกใช้ それをก็เพราะว่า ต้องการจะใช้ それ แทนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า แต่การย่อแบบนี้ไม่สามารถใช้ได้ เพราะเนื้อเรื่องจะไม่รู้ว่า それ จะหมายถึงอะไร และจะทำให้ผู้ฟังเกิดความงงงวยว่า มันคืออะไร จึงควรจะแก้ไขเป็น エーちゃんは、彼氏が昔の写真を見ちゃったのを見て จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายมากขึ้น
10. どうしたらいいか全然分からなかった ตรงประโยคนี้ ถ้าเราจบด้วย分からなかった จะเหมือนเป็นการกระทำของตัวเราเอง ซึ่งในความหมายที่ตั้งใจจะสื่อคือ เป็นการกระทำของผู้หญิงคนนี้ ว่า เขาไม่รู้จำทำอย่างไร จึงควรจะแก้ไขเป็น どうしたらいいか全然分からなかったみたいのよ
11. 彼はカツラを取って、はげ頭になっちゃった กริยา 2 ตัวนี้ไม่สามารถที่จะใช้ประธานตัวเดียวกัน หรือใช้ประโยคเชื่อมต่อกันได้ เพราะ 取るเป็น 他動詞 ซึ่งต้องมีประธานเป็นคนกระทำกริยา แต่ になる เป็น 自動詞ซึงเป็นการบอกการเปลี่ยนแปลง หรือสภาพที่กลายเป็นสิ่งนั้น จึงควรจะแก้เป็น แบ่งประโยคเป็น 2 ประโยค คือ彼はカツラを取った。はげ頭だったのよ。หรือจะทำเป็นประโยคเงื่อนไข ได้ว่า彼はカツラを取ったら、はげ頭だったのよ。
12. ショックそうな顔をしていた ประโยคนี้ไม่รู้จริงๆว่า จะต้องแก้ไขตรงไหน TTT^TTT (ติดไว้ก่อนน จะต้องไปตามผู้รู้ซินะ)
หลังจากอ่านของตัวเองรู้สึกได้ทันทีว่า มันไม่สนุกเลยยยย เหมือนเป็นการเล่าเรื่องเฉยๆ จะทำอย่างไรให้เล่าให้สนุกละ อ.ได้แจกตัวอย่างของคนญี่ปุ่นมาให้ดูกัน เพื่อเปรียบเทียบกับของตัวเอง ก็ได้เจอเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่คนญี่ปุ่นเขาใช้กัน
1. เพื่อพูดให้ดูตื่นเต้น น่าฟัง น่าสนใจมากขึ้น ควรจะใช้ 表現เหล่านี้
ねえ、ねえ、聞いてよ
そこで何と言ったと思う?
何したと思う?
どうしてか分かる?
2. คำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้
大ピンチ ตายแน่ๆ
つるつる (ผิว) ลื่นๆ
ぴかぴか เป็นเงางาม (แสง)วับๆ
。。。がばれちゃった (ความลับ) ถูกเปิดเผย
振られる ถูก(แฟน)ทิ้ง
ยังมีคำถามที่ยังไม่ได้คำตอบอยู่ 2 ข้อ เดี๋ยวจะรีบมาไขความข้องใจนะค่าาาา