จริงๆ แล้วถ้าเรานึกถึง 「ている」สิ่งแรกเลยคือ แปลว่า "กำลัง" แต่!!!!!!! ประเด็นของวันนี้ไม่ใช่จะพูดถึงความหมายที่แปลว่า "กำลัง" เพียงอย่างเดียว การใช้「ている」ยังมีการแสดงความหมายในลักษณะอื่นๆ ด้วย ซึ่งมันอะแมซิ่งไทยแลนด์มากกก
การแบ่งประเภทคำกริยาของ金田一 ได้แบ่งเอาไว้ 4 ประเภท คือ
1. 継続動詞(กริยาต่อเนื่อง) : สามารถใช้ から หรือ まで ได้ และเมื่อเติม 「ている」จะมีความหมายว่า "กำลังดำเนินกริยานั้นอยู่" เช่น 食べる 勉強する
2. 循環動詞(กริยาฉับพลัน) : ไม่สามารถใช้ から หรือ まで ได้ และถ้าเติม「ている」จะมีความหมายแสดงสภาพหลังจากกริยานั้นได้เสร็จสิ้นลงแล้ว เช่น 咲く 終わる
3. 状態動詞(กริยาแสดงสภาพ) : กริยาที่แสดงสภาพโดยตรง ไม่สามารเติม 「ている」ได้ เช่น ある 要る いる
4. 第四種の動詞(กริยากลุ่มที่สี่) : กริยาที่มักปรากฏอยู่ในรูป「ている」เสมอ เช่น 優れている 似ている
จะเห็นได้ว่า การเติม「ている」ไม่ได้แปลว่า "กำลัง" เสมอไป แต่ยังแปลได้ในความหมายอื่นๆ ด้วย ซึ่งนอกจากความหมายข้างต้นแล้ว ก็ยังมีอีกหมายความหมายที่สามารถใช้「ている」ได้โดยที่ไม่ได้แปลว่า "กำลัง" เช่น พูดถึงการบันทึกทางประวัติศาสตร์ การบันทึกของตัวเอง บอกสถิติหรือประสบการณ์ของตัวเอง เป็นต้น (รู้สึกว่าเคยเขียนไว้ในบทความก่อนๆ ด้วยว่า ใช้ได้หลายอย่างๆ อย่าลืมจำเน้ออออ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น