目的



目的 :「アスペクト」 ได้ใช้รูปประโยคแสดงアスペクトในชีวิตประจำวันมากขึ้น และเรียนรู้ประโยค
アスペクトใหม่ๆในบทควาต่างๆ

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

แต่งงาน?!

นั่งคิดไปคิดมาก็นึกถึงคำศัพท์คำว่า แต่งงาน นั่นก็คือ 結婚 

สมมุติว่า มีชายรูปงามหนึ่งคน มาถามคุณว่า คุณแต่งงานหรือยัง ในความจริงคือ คุณแต่งงานแล้ว แต่คุณก็ชอบเขาอยู่เล็กๆ แต่ก็ไม่อยากจะโกหกว่า โสด ก็มีวิธีง่ายๆ นั่นก็คือ ตอบเขาไปว่า 結婚しました ซึ่งในความหมายนี้คือ แต่งงานแล้ว ซึ่งคำนี้จะหมายความว่า ผ่านการแต่งงานมาแล้ว แต่ตอนนี้อาจจะหย่าแล้ว หรือ อยู่ด้วยกันอยู่ ไม่ทราบ วิธีนี้อาจจะทำให้เขาคิดว่า คุณอาจจะหย่าแล้ว หรืออะไรทำนองนี้ก็ได้ เหมือนสับขาหลอกเล็กๆ ฮ่าๆ เพราะแค่ต้องการจะบอกว่า ฉันผ่านการแต่งงานมาแล้วนะ แต่ถ้าคุณตอบกลับไปว่า 結婚している ละก็ บอกเลยว่า ผู้ชายรูปงามคนนี้จะหายไปจากคุณทันที เพราะว่า นอกจากคำนี้จะสื่อความหมายว่า แต่งงานแล้ว ยังสื่อถึงสภาพของการแต่งงานอีกว่า ตอนนี้ก็ยังคงเป็นสามีภรรยากัน อยู่ด้วยกันนะ

เลือกใช้ให้ถูกกันนะคะ


เพลง 1

เพลง......... ฟังแล้วช่วยให้อารมณ์ดีได้จริงๆ หรือถ้าเพลงที่ตรงกับความรู้สึกเศร้าตอนนั้นละก็ ไม่แน่อาจจะทำให้ร้องไห้ได้ก็ได้นะ เพลงที่จะนำเสนอวันนี้มั่นใจมากว่า ถ้าใครเป็นสาวกของวงดงบังชิงกิ ต้องเคยฟังอย่างแน่นอนน ซึ่งเพลงนี้ก็นานมากพอสมควร คือเพลง どうして君を好きになってしまったんだろうร้องอ๋อออ กันแล้วแน่นอนนน

ปกติฟังเพลงก็ไม่ค่อยจะสนใจไวยกรณ์หรืออะไรมากมาย พอฟังก็เอาความหมายคราวๆเป็นหลัก เหมือนกับการอ่านบทความ แต่พอลองมานั่งอ่านเนื้อเพลงอย่างละเอียดดูแล้ว เจอคะ!!! เจอ!!!! アスペクト!!!!

มาเริ่มกันที่เนื้อเพลงกันก่อนนน 

どうして…君を好きになってしまったんだろう?
どんなに時が流れても君はずっと
ここにいると1.思ってたのに

でも君が選んだのは違う道

どうして…君に何も伝えられなかったんだろう?
每日每晚募ってく想い
溢れ出す言葉解ってたのに(もう屆かない)

初めて出會ったその日から 君を2.知っていた氣がしたんだ
あまりに自然に溶け迂んでしまったふたり
何處へ行くのにも一緒で 君がいることが當然で
僕らはふたりで大人になってきた

でも君が選んだのは違う道

どうして…君を好きになってしまったんだろう?
どんなに時が流れても君はずっと
ここにいると 思ってたのに(もう葉わない)

特別な意味を持つ今日を 幸せがあふれ出す今日を
綺麗な姿で神樣に3.誓ってる君を
僕じゃない人の鄰で 4.祝福されてる姿を
僕はどうやって見送ればいいのだろう?

もうどうして…君を好きになってしまったんだろう?
あの頃の僕らの事を(もう戾れない)
考えた…(もう戾らない)考えた…
どうして…君の手を摑み奪えなかったんだろう?
どんなに時が流れても君はずっと
僕の橫にいるはずだった(もう葉わない)

それでも…君が僕のそば5.離れていっても
永遠に君が幸せであること ただ6.願ってる
(例えそれがどんなに寂しくても)
辛くても…

1.思ってた
ในที่นี้ก็ความหมายว่า ทั้งที่คิดว่า(ตอนนี้ก็ยังคงคิดเช่นนี้อยู่)เธอยังคงอยู่ตรงนี้เสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านไปอย่างไรก็ตาม 思っていたกับ 思っているนั้น มีความหมายเหมือนกัน นั่นก็คือ ตั้งแต่อดีตจนถึงตอนนี้ยังคงคิดเช่นนั้นเสมอมา

2.知っていた
ในที่นี้จะมีความหมายเหมือนกับ 知っている คือ ต้องนี้ก็ยังคงรู้จักอยู่ แต่ต่างกันตรงนี้ 知っていたจะเน้นมากกว่าว่า รู้จักกันมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้และตอนนี้ก็ยังคงรู้จักอยู่ แต่ 知っている จะเน้นแค่ว่า ตอนนี้เป็นสภาพว่า "รู้จักนะ"  แต่จะรู้จักตั้งแต่เมื่อไรนั้นไม่ได้เน้น ก็จะแปลได้ว่า ตั้งแต่วันที่ได้เจอกันครั้งแรก ก็รู้สึกว่า รู้จักกับเธอมาเนิ่นนาน

3.誓ってる
ในที่นี้แปลว่า กำลังอธิษฐาน ซึ่งก็หมายความว่า เธอที่กำลังอธิษฐานต่อเทพเจ้าด้วยรูปร่าง/รูปลักษณ์ที่สวยงาม

4.祝福されてる
ในที่นี้แปลว่า กำลังถูกอวยพร ซึ่งก็หมายความว่า คนข้างๆไม่ใช่ผมอีกต่อไป  ภาพ(ของเธอ)ที่กำลังถูกอวยพรอยู่นั่น

5.離れていっても
ในที่นี้แปลว่า ห่าง ซึ่งเป็นสภาพการห่างจากกัน ซึ่งก็หมายความว่า แม้ว่าเธอจะจากไปจากข้างกายตัวผมแล้วก็ตาม 

6.願ってる
ในที่นี้แปลว่า ขออวยพรให้ ซึ่งไม่ใช่มีความหมายว่า จะอวยพร แต่หมายถึง สภาพของการอวยพรว่า พร่ำเพ้ออวยพรให้เธอนะ ไม่ใช่แค่อวยพรแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ทั้งประโยคจะหมายความว่า ขออวยพรให้เธอมีความสุขตลอดไป

จะเห็นว่า เมื่อเพลงใส่ประโยคที่แสดงアスペクトเข้าไป มันทำให้สื่ออารมณ์และภาพให้ชัดเจนมากขึ้น ทำให้เราเห็นภาพการกระทำของตัวละครอย่างละเอียด เพลงนี้ฟังกี่ครั้งก็เพราะ และก็ซึ้งตลอดเลยยยย  อย่าลืมกลับไปฟังก่อนนอนกันนะคะ






วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

「覚える」

สวัสดียามดึกค่าาาาา

คราวนี้ได้คุยกับคนญี่ปุ่นเกี่ยวกับหัวข้อ "วันเกิด" 

ถามจริงๆนะคะ จะมีซักกี่คนที่จำวันเกินเพื่อนของตัวเองได้ทุกคน ไม่มี!!!!!! (ใช่มั๊ยคะ?) เพราะ ถ้าเทียบกับตัวเองแล้ว บอกได้เลยคะว่า ตัวเองจำวันเกินได้แค่วันเกิดของ พ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อนสนิทอีกหนึ่งคน และตัวเอง เท่านั้นคะ โดยส่วนตัวคิดว่า การจำวันเกิดเป็นอะไรที่ยากมากก เพราะต้องจำทั้ง วันที่และเดือน จริงมั๊ยคะ? แต่คนญี่ปุ่นคนนี้เขาจำวันเกิดเพื่อนได้คะ เป็นอะไรที่สุดยอดมากกก (หรือการจำวันเกิดคนอื่นเป็นเรื่องปกติ??)

แต่...ประเด็นของวันนี้ไม่ใช่ว่า จำวันเกิดได้กี่คน หรืออะไรทำนองนั้นนะคะ ฮ่าๆ เพราะว่า วันนี้จะมาพูดถึงคำว่า 「覚える」 คะ 

บทสนทนา คือ 
F: จำวันเกิดเพื่อนได้หรอคะ
N: คิดว่า ก็จำได้พอสมควรนะ เพราะว่า เพื่อนมหา'ลัยจัดงานวันเกิดทุกปีน่ะ
F: สุดยอดด
N: มันจำได้เอง เพราะว่า จัดงานวันเกิดติดต่อกันมาหลายปีน่ะ

เราเลือกที่จะใช้「覚えている」ในการถามเขาว่า จำวันเกิดเพื่อนได้หรอ เพราะว่า มันก็เป็นสภาพการจำว่า ตอนนี้ยังจำอยู่ ไม่ใช่ว่า ตอนนี้จำไม่ได้แล้ว (覚えた) หรือจะจำได้ (覚える) ซึ่งไวยกรณ์นี้ได้เรียนกันมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งมั่นใจว่า ใช้ถูกแน่นอน ฮ่าๆๆ ในครั้งแรกที่เขาตอบมา ซึ่งเขาก็ตอบว่า 結構覚えている ซึ่งก็ปกติดี เพราะ สิ่งที่สื่ออกมาคือ สภาพของการจำว่า ตอนนี้ก็ยังจำได้อยู่พอสมควรนะ  แต่พอครั้งที่สองที่เขาตอบมา เขาเลือกใช้ว่า 自然と覚えていた ถ้าแปลเอาความหมายแบบเร็วๆ คือ "จำได้เอง" 

แต่เกิดความสงสัยว่า ทำไมไม่ใช้ 「覚えている」นะ? พอนั่งคิดไปคิดมาก็เกิดข้อสรุปกับตัวเองขึ้นมาว่า เขาไม่ได้ต้องการจะสื่อสภาพว่า ตอนนี้ยังจำได้อยู่นะ แต่ต้องการจะสื่อออกมาว่า มันจำไปได้เอง โดยที่ จำลงสู่ความจำส่วนลึก ที่แบบลึกมากๆๆ ฝังอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างไม่มีวันลืม อารมณ์เหมือน จำจนกลายเป็นความจำระยะยาวอะไรประมาณนั้น จึงทำให้เขาเลือกใช้「覚えていた」

ซึ่งทั้งหมดคือ ข้อสันนิษฐานของตัวเองนะคะ ฮ่าๆ เพื่อความแม่นยำ จะไปถามผู้รู้มาเพื่อไขข้อสงสัยค่าาาา :)

วันนี้ ราตรีสวัสดิ์ นะคะ ฝันดีค่าาา




วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เจอประโยคต้องสงสัย2!!!!!!

สวัสดีค่าาาา :)

วันนี้มาอัพซะดึกเลยยย จริงๆ คือนั่งทำรายงานอีกวิชาหนึ่งอยู่ ซึ่ง.......ละไว้ในฐานที่เข้าใจสำหรับตัวผู้เขียนนะคะ ฮ่าๆๆ (ปาดเหงือหลายร้อยล้านรอบบ)

เมื่อวันก่อนมาอัพเกี่ยวกับข้อความสั้นจากบทความบทความหนึ่งที่ได้อ่านในชั่วโมง การอ่านภาษาญี่ปุ่น ซึ่งก็คือเรื่อง 大人になれなかった弟 นึกถึงเรื่องนี้ทีไรก็แอบเศร้าอยู่ในใจนะ TT^TT

แต่วันนี้ก็จะมาอัพอีกข้อความหนึ่ง ซึ่งสั้นๆเหมือนกัน มาจากบทความเรื่อง 字のないはがき ที่ได้อ่านในชั่วโมง การอ่านภาษาญี่ปุ่นเช่นกัน 

ข้อความวันนี้ก็คือ 「あの字のないはがきは、だれがどこにしまったのかそれともなくなったのか、私は一度も見ていない。」ข้อความนี้เป็นข้อความสุดท้ายของบทความเรื่องนี้ ซึ่งการที่ผู้เขียนเลือกใช้ アスペクト นั่นก็คือ 見ていない เป็นการบอกสถิติของผู้เขียนว่า จนมาถึงปัจจุบันนี้ ซักครั้งหนึ่งผู้เขียนก็ไม่ได้ดู ซึ่งความหมายจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อผู้เขียนเติมคำว่า 一度も  

เมื่อลองมานึกถึงตัวเอง ถ้าจะต้องเขียนประโยคแบบนี้ในสมัยก่อน ก็คงจะเลือกใช้ประโยคที่ว่า 「一度も見たことがありません」 อย่างแน่นอนน ฮ่าๆๆๆ ซึ่งประโยคนี้แสดงถึง ประสบการณ์ของเราว่า เคยหรือไม่เคยทำอะไร ดังนั้นเมื่อเราจะพูดว่า จนถึงตอนนี้ยังไม่เคยทำอะไร ก็จะใช้ไวยกรณ์รูปนี้ เพราะ มั่นใจว่าถูกแน่นอนน แต่!!! ต่อไปนี้จะใช้ให้หลายหลากมากขึ้นค่าาาา :)




วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

アスペクトに囲まれている生活

สวัสดียามบ่ายค่าาาา  หิวข้าวแล้วววว แต่!!!เราจะยังไม่ไปทานข้าวนะ เพราะ ไปเจอชีทของวิชาJap Ling เข้า หลังจากนั่งงมๆๆ เจอความรู้อันมีค่าแสนสุดยอดดดดด

ถ้าพูดถึง アスペクト เราคงนึกถึงรูป 「ている」เป็นซะส่วนใหญ่ ที่แสดง "สภาพ" "กำลัง" เป็นต้น แต่มันมีหลายรูปมากกกกก ที่แสดงアスペクト  ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นหัวข้อที่เราจะพูดกันนะคะ

ก่อนอื่น คำว่า アスペクト ในภาษาไทยคือ การณ์ลักษณะ ซึ่งดูจำยาก และเข้าใจยากอยู่ ฮ่าๆๆ เอาเป็นว่า เราจะเรียกว่า アスペクト แล้วกัน เพื่อเข้าใจง่ายๆ 

นอกจาก アスペクト ที่แสดง  "สภาพ" "กำลัง" ต่างๆ แล้ว วันนี้ก็จะขอยก 3 ประเภท คือ
1. แสดงมุมมองของจุดเวลา เช่น
しはじめる เริ่มทำ 
しつづける ดำเนินการทำอย่างต่อเนื่อง
しおわる ทำเสร็จ 
している最中だ กำลังทำอยู่ 
しつつある ดำเนินการทำไปเรื่อยๆ 
するところ กำลังจะทำ
しているところ ระหว่างทำอยู่ 
したところ ทำเสร็จไปไม่นาน 
したばかりだ เพิ่งทำ 
したて ทำเสร็จหมาดๆ
2. แสดงรูปแบบการกระทำว่า สำเร็จหรือไม่ เช่น
しきる ทำเป็นช่วงๆและเสร็จลง 
やり抜く ทำจนเสร็จตลอดรอดฝั่ง 生き抜いたมีชีวิตอยู่รอด 
しようとする พยายามจะทำ(แต่ไม่สำเร็จ)
しそこなう อดทำ  食べそこなう อดทาน
しっぱなし ทำค้างไว้ 置きっぱなし ลืมทิ้งไว้
3. แสดงมุมมมองการกระทำเปรียบเทียบกับกิจกรรมอื่น เช่น
しておく ทำเตรียมไว้
してしまう ทำไปเลย (ไม่ลังเล) 
したことがある เคยทำ
4. แสดงมุมมองทิศทางของการกระทำ เช่น 
してくる ทำมา 
していく ทำไป

ขอขอบพระคุณอย่างสูง กับความรู้ดีๆ ในวิชาJap Ling ของอ.อัษฎายุทธ นะค่าาาา :)

จริงๆแล้ว アスペクト นี่ยิ่งกว่าอยู่รอบตัวเราอีกนะเนี่ยย เอาเป็นว่า หายใจปุบก็ใช้ アスペクト เลยยย (อันนี้ก็เวอร์ไปรึเปล่า ฮ่าๆๆ แต่มันให้ความรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ นะ)

「ている」って??

วันนี้ได้นั่งย้อนความทรงจำเล็กๆน้อยๆ คือจำได้ว่า เมื่อเทอมที่แล้วได้ลงเรียนวิชา Jap Ling ซึ่งเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น อาจารย์เคยพูดถึง 「ている」ว่ามันมีการแบ่งหลายอย่างนะ เลยไปนั่งงมหาชีทมาเพื่อรื้อฟืนความทรงจำอีกครั้งงง

จริงๆ แล้วถ้าเรานึกถึง 「ている」สิ่งแรกเลยคือ แปลว่า "กำลัง" แต่!!!!!!! ประเด็นของวันนี้ไม่ใช่จะพูดถึงความหมายที่แปลว่า "กำลัง" เพียงอย่างเดียว การใช้「ている」ยังมีการแสดงความหมายในลักษณะอื่นๆ ด้วย ซึ่งมันอะแมซิ่งไทยแลนด์มากกก 

การแบ่งประเภทคำกริยาของ金田一 ได้แบ่งเอาไว้ 4 ประเภท คือ
1. 継続動詞(กริยาต่อเนื่อง) : สามารถใช้ から หรือ まで ได้ และเมื่อเติม 「ている」จะมีความหมายว่า "กำลังดำเนินกริยานั้นอยู่" เช่น 食べる 勉強する
2. 循環動詞(กริยาฉับพลัน) : ไม่สามารถใช้ から หรือ まで ได้ และถ้าเติม「ている」จะมีความหมายแสดงสภาพหลังจากกริยานั้นได้เสร็จสิ้นลงแล้ว เช่น 咲く 終わる
3. 状態動詞(กริยาแสดงสภาพ) : กริยาที่แสดงสภาพโดยตรง ไม่สามารเติม 「ている」ได้ เช่น ある 要る いる
4. 第四種の動詞(กริยากลุ่มที่สี่) : กริยาที่มักปรากฏอยู่ในรูป「ている」เสมอ เช่น 優れている 似ている 

จะเห็นได้ว่า การเติม「ている」ไม่ได้แปลว่า "กำลัง" เสมอไป แต่ยังแปลได้ในความหมายอื่นๆ ด้วย ซึ่งนอกจากความหมายข้างต้นแล้ว ก็ยังมีอีกหมายความหมายที่สามารถใช้「ている」ได้โดยที่ไม่ได้แปลว่า "กำลัง" เช่น พูดถึงการบันทึกทางประวัติศาสตร์ การบันทึกของตัวเอง บอกสถิติหรือประสบการณ์ของตัวเอง เป็นต้น (รู้สึกว่าเคยเขียนไว้ในบทความก่อนๆ ด้วยว่า ใช้ได้หลายอย่างๆ อย่าลืมจำเน้ออออ)

เจอประโยคต้องสงสัย!!!

สวัสดีค่าาาาาา ห่างหายไปนานเลยยยย วันนี้ก็จะมาพูดถึงข้อความเล็กๆน้อยๆ

ในบทความที่ได้อ่านในคาบวิชาการอ่านภาษาญี่ปุ่นเมื่ออาทิตย์ที่แล้วว บทความนี้ก็คือ「大人になれなかった弟たちに」ของ 米倉・斉加年 ซึ่งเป็นบทความสั้นๆนะคะ 

เนื้อหาย่อๆของบทความนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้เขียนในวัยเยาว์ที่อยู่ในช่วงของสงครามมหาเอเชียบูรพาพอดี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างลำบาก เพราะอาหารก็ขาดแคลน พ่อของผู้เขียนเองก็ต้องไปออกรบ ส่วนแม่ก็ต้องหาเลี้ยงลูกๆ ซึ่งตัวผู้เขียนมีน้องชายอยู่1คน น้องชายของเขายังอยู่ในวัยที่ต้องทานนมแม่อยู่ด้วย แต่แม่ของผู้เขียนก็ไม่ได้รับประทานอาหารมากเท่าไหร่ เพราะ ต้องการจะให้ตัวผู้เขียนและลูกๆคนอื่นได้รับประทานกันทุกคน จึงทำให้แม่ของผู้เขียนไม่มีน้ำนมมากพอที่จะให้น้องชายคนเล็กทาน จนสุดท้ายน้องชายของผู้เขียนก็เสียชีวิตด้วยโรคขาดสารอาหาร ซึ่งเรื่องราวความอดยากหรือการเสียชีวิตของน้องชายนั้นตัวผู้เขียนเองก็จะไม่มีวันลืมไปตลอดชีวิตเช่นกัน ในครั้งแรกที่ได้อ่านบทความนี้ยอมรับเลยว่า เป็นการอ่านแบบเอาความเข้าใจอยากเดียว ไม่ได้สังเกตไวยกรณ์อย่างละเอียดเท่าไหร่ แต่พอได้ลองอ่านอีกครั้งหนึ่งก็รู้สึกว่า มีไวยกรณ์ที่ใช้เป็นรูปアスペクトเยอะพอสมควรเลยย ก็เลยอยากจะยกตัวอย่างข้อความสั้นๆมาให้ดูกันน

 「夜もおちおち寝ていられません」ข้อความนี้ ผู้เขียนบรรยายเหตุการณ์ชีวิตในช่วงนั้นว่า เครื่องบินของอเมริกาปล่อยลูกระเบิดมาที่ญี่ปุ่นเหมือนกับทุกๆวัน ซึ่งทำให้ ในตอนกลางคืนตัวผู้เขียนไม่สามารถนอนหลับได้ จะเห็นได้ว่า เนื้อหาของบทความนี้เป็นการเล่าถึงเหตุการณ์ในอดีตทั้งหมด แต่!!!!ข้อความนี้กลับอยู่ในรูปของ 「ている」ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า รูปアスペクトรูปนี้ แสดงถึง "การบันทึกของตัวเอง" ว่าตัวเองได้พบเจออะไรบ้าง แม้ว่าการพบเจอเหล่านั้นจะเป็นเหตุการณ์ในอดีตก็ตาม เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้รูปประโยคแสดงอดีตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เราใช้ประโยคในรูป「ている」แสดงการบันทึกเหตุการณ์ในอดีตของตัวเองได้เช่นกัน

 「僕にはそれがどんなに悪いことか、よくわかっていたのです。」ข้อความนี้ เป็นตอนที่พูดเขียนเล่าว่า ช่วงเวลานั้นพวกขนม ไอศครีม พวกนนี้ไม่มีเลย ทำให้ตัวผู้เขียนเองก็อยากจะดื่มน้ำนมด้วยเช่นกัน และก็ได้แอบดื่นน้ำนมที่จะต้องเป็นอาหารที่สำคัญของน้องชายผู้เขียนไปหลายครั้งด้วย แม้ว่าตัวผู้เขียนเองจะเข้าใจดีว่า มันเป็นสิ่งที่ไม่ดีแค่ไหนก็ตาม ซึ่งในประโยคนี้ผู้เขียนใช้คำว่า「わかっていた」เป็นการแสดงให้เห็นว่า ช่วงนั้นในอดีตผู้เขียนเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการแอบดื่นน้ำนมเป็นสิ่งไม่ได้ เน้อนว่า เข้าใจอย่างดี อย่างถ่องแท้ในอดีต โดยประโยคนี้ไม้ได้จะเน้นถึง การเปลี่ยนแปลงจาก "ไม่เข้าใจ"กลายเป็น"เข้าใจ" ผู้เขียนจึงไม่ได้ใช้「わかった」และที่ไม่ใช้ 「わかっている」เพราะ คำนี้จะแสดงถึงว่า สภาพการเข้าใจของผู้เขียนในตอนนี้ว่า ฉันเข้าใจนะ เน้นเหตุการณ์ในปัจจุบัน จริงๆแล้วในประโยคสั้นๆ มันมีความหมายที่ละเอียดละออและลึกซึ้งมากกว่าที่คิดจริงๆ

 

วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

มีโอกาสได้ใช้แล้ว!!

สวัสดีค่าาาาา :)

เมื่อวานได้มีโอกาสคุยกับคนญี่ปุ่นคนนึง ซึ่งก็ได้ถามเขาว่า วันอาทิตย์เขาได้ไปเที่ยวไหนรึป่าว เพราะคิดว่า คนญี่ปุ่น วันหยุดเขามักจะออกไปเดินห้าง หรือไปเล่นกีฬา มั้ง(ในความคิด ฮ่าๆ)เขาก็บอกว่า วันนี้เขาไปเดินจตุจักรมา ร้อนมากและคนก็เยอะมากด้วย คนต่างชาติก็เยอะเช่นกัน ตัวเองก็เลยตอบกลับไปว่า ไม่ได้ไปจตุจักรมา 4 ปีแล้ว ซึ่งในหัวตอนนั้น คิดว่า ประโยคนี้แหละ!สามารถใช้ประโยคในรูปアスペクトได้แน่นอน ก็เลยตอบเขาไปด้วยประโยคว่า 「私、4年間もそこに行っていません。」 ซึ่งในประโยคนี้คิดว่า มันจะแสดง ระยะเวลา 4 ปี จนถึงปัจจุบัน ว่า เป็นสภาพที่ไม่ได้ไปมา 4 ปีแล้วจนถึงตอนนี้ ในตอนแรกจะจบประโยคด้วย ました แต่มานั่งคิดว่า ถ้าจบด้วย ました แสดงว่า มันจะพูดถึง สภาพระยะเวลาช่วงหนึ่งในอดีต ซึ่งจบไปแล้ว แต่เราไม่ได้ต้องการสื่อความหมายอย่างนั้น จึงเลือกจบด้วย ประโยคเหตุการณ์ปัจจุบันแทนน ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงจบประโยคด้วย 行きませんでした แน่ๆเลยย เพราะเป็นรูปประโยคที่มั่นใจว่า ถูกชัวร์!! 

ได้ใช้รูปประโยคアスペクトแล้วค่าาาาา

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

タスク4 「飛行機」

คราวนี้อ.ก็ได้ให้อธิบายภาพเหมือนกับคราวที่แล้ว ซึ่งคราวนี้ไม่ใช่เล่าเรื่องให้ตลก แต่เป็นการใช้รูปแบบประโยค ประมาณว่า ถ้าทำอย่างนั้นในอดีตก็คงจะ..... หรือ ดีนะ ที่ไม่ได้ทำอย่างนั้น เหมือนเป็นการสมมุติเหตุการณ์ในอดีต


ก่อนอื่นก็มาเล่าเรื่องย่อกันก่อน เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ชายผู้หนึ่งที่จะต้องขึ้นเครื่องไปที่ไหนซักแห่ง  ปรากฏไปขึ้นเครื่องไม่ทัน ก็เลยตกเครื่องคะ และพอกลับมาบ้านก็เปิดทีวีดู เจอข่าวเกี่ยวกับเครื่องบินตก ซึ่งเครื่องบินลำนั้นก็เป็นเครื่องบินที่ตัวเองจะต้องขึ้นซะด้วย ก็เลยโชคดีไปที่ไม่ได้ขึ้นเครื่อง มิเช่นนั้นคงจะตายไปแล้วแหงๆ

 

และข้างล่างนี้ก็เวอร์ชั่นที่ตัวเองเล่าให้เพื่อนฟังค่า

 

ねえ、ねえ、昨日、私の兄はアメリカに行く予定があったんだ。でも、彼は朝寝坊しちゃって、飛行機に乗るのを間に合わなかった。それで、彼は家に帰って、悲しそうな顔をした。夕食を食べながらテレビを見て、ショックなニューズを放送していた。そのニューズは、彼が乗る予定の飛行機が川に落ちちゃったんだ。もし彼はあの飛行機に乗ったら、死ぬかもしれないよね。

 

พูดนิดเดียวยังผิดตรึมค่า ฮ่าๆๆๆ ถ้าลองมานั่งดู ก็เจอปัญหาที่เคยผิดมาก่อนหน้านี้ด้วยนะเนี่ยยย

1. 飛行機に乗るのを間に合わなかった ผิดคำช่วยเต็มลูกตา!!ต้องใช้คำช่วย กับกริยา 間に合うนะคะ

 

2. 夕食を食べ ผิดกริยานะคะ ถ้าจะใช้ 夕食 ต้องใช้คู่กับกริยา するเสมอ แต่ถ้าจะใช้ 食べる ก็ควรใช้กับ ご飯 นะคะ

 

3. テレビを見て、ショックなニュースを放送していた ผิดเหมือนกับคราวก่อนเลยยยย นั่นก็คือ ประโยคนี้ มีประธานคนละตัวกัน จึงไม่สามารถเชื่อมประโยคกันด้วย คำเชื่อม ได้ จึงต้องแบ่งเป็น 2 ประโยค คือ テレビを見たんだ。ショックなニュースを放送していた/が放送されていた。

 

4. そのニューズは、彼が乗る予定の飛行機が川に落ちちゃったんだ  ประโยคนี้ ขึ้นต้นด้วยคำนาม ต้องจบด้วยคำนามนะคะ จำไว้ให้ขึ้นใจเริ่มต้นด้วยคำนามไม่สามารถจบประโยคด้วยกริยาได้คะ และต้องคำช่วย ควรจะแก้เป็น 予定があるใช้คำช่วยในประโยคนี้ เครื่องบินของตารางที่เขาจะขึ้น มันแปลกมากคะ ฮ่าๆๆ สรุปคือ ใช้คำช่วยผิดนั่นเองง ดังนั้นทั้งประโยคควรจะแก้เป็น そのニューズによると、彼が乗る予定がある飛行機が川に落ちちゃったんだということだ。  ------------- เสริมคะ คำว่า เครื่องบินตก ในภาษาญี่ปุ่น คือ 飛行機が墜落する

 

5. 飛行機に乗ったら、死ぬかもしれないผันกริยาผิดนะคะ ถ้าแปลตามที่เขียนคือ ถ้าขึ้นเครื่องบินอาจจะ(จะ)ตาย ซึ่งมันไม่ใช่ มันต้องเป็นว่า ถ้าขึ้นเครื่องก็จะตาย (ตายจริงๆ ไม่ใช่ จะตาย) ดังนั้นจึงควรจะแก้เป็น飛行機に乗ったら、死んでいたかもしれない สามารถใช้ เป็น 死んでいたได้ โดยจะให้ความหมายลึกซึ้งลงไปอีก คือ ตายสนิท แต่จะใช้ 死んでいるก็ได้เช่นกัน โดยจะให้ความมหายเป็น สภาพว่า ตายซึ่งเป็น アスペクトโดยอาจจะจบประโยคด้วย だろうซึ่งเป็นการสมมุติเหตุการณ์ในอดีต รูปประโยคคือมันจะใช้ คือ

       (もし) 。。。すれば/したら。。。ている/ていた + だろう

 

ในหัวข้อนี้มีการใช้アスペクトที่น่าสนใจมากหลายจุด

                        あなたが結婚するころには、私はもう死んでいるわよ。

  死んでいるเป็นการสมมุติเหตุการณ์ในอนาคต และบอกสภาพว่า ตอนนั้นคงตายแล้ว (สภาพว่าตาย)

 

バッハは沢山の曲を作曲している

作曲している เป็นการอธิบายถึงประวัติศาสตร์ แม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะจบสนิทไปเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ถ้าเป็นการอธิบายเหตุการณ์ในอดีตสามารถใช้รูป ているได้

                

                 その本は何年も読んでいる

読んでいる เป็นการบันทึกเหตุการณ์ของตัวเอง เป็นระยะเวลายาว

                 あの人は去年アメリカに3行っている

行っているผู้พูดต้องการlink มาถึงปัจจุบัน โดยเป็น record ว่า จนถึงตอนนี้ ไปมาแล้ว 3 ครั้ง นะ ถ้าใช้เป็น行っていた จะให้ความหมายว่า ในอนาคตจะไม่ไปแล้ว

 

จากด้านบนจะเห็นวิธีการใช้ アスペクト3 อย่าง เพื่อสื่อความหมายให้ลึกซึ้งมากขึ้น จะพยายามเอาไปใช้ค่า

 

タクス 3 「それは秘密です」

คราวนี้อ.ได้ให้ลองเล่าเรื่องราวจากภาพให้เพื่อนฟัง โดยเน้นย้ำว่า ต้องเล่าให้สนุกด้วยนะ! เล่าให้สนุกหรอ เล่าอย่างไรดีละ


งั้นมาพูดถึงเรื่องย่อๆกันก่อน เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่ง ถูกแฟนหนุ่มนรู้ความจริงว่า แท้จริงแล้วเธอไม่ใช่สาวสวยมาตั้งแต่เกิด แต่เธอสวยด้วยมีดหมอทั้งหมด!! แต่สิ่งที่น่าตกใจไปกว่าการทำศัลยกรรมของเธอแล้ว นั่นก็คือ แฟนของเธอหัวล้าน และใส่วิกมาโดยตลอด!!!!!!! โอ้ววว พูดได้คำเดียว ช็อก!!!!

 

นี่คือเวอร์ชั่นแบบพูดสด ผิดตรึมม

 

ねえ、ねえ、私たちのクラスメートのエーちゃんが知ってる?あの人はとっても美人な人だよね。でも、実は整形したそうだよ。それを言っても、エーちゃんの彼氏はかっこよくて、親切な人だよね。でもね、昨日、私は教室を掃除していた時、あの二人の話を聞いたんだ。その時、エーちゃんは彼氏と話していて、田中先生に呼ばれた。彼はエーちゃんを待っている時、彼女の財布を開けて、彼女の整形していない写真を見ちゃった。エーちゃんはそれを見て、大きい声で「大ピンチ」と言った。どうしたらいいか全然分からなかった。でも、エーちゃんの彼氏は「そんな事を心配しなくていいのに」と言った。そして、彼はカツラを取って、はげ頭になっちゃった。エーちゃんはショックそうな顔をしていた。私はそれを見て、我慢できなくて、笑っちゃったんだ。

 

หลังจากได้ประสบปัญหาความผิดผลาดมามากมายตามตัวแดงด้านบน เราก็จะมาดูกันว่า เราจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง ฮ่าๆ

1. エーちゃんが知ってる?  มันควรเป็นคำช่วย นะคะ พลาดได้อย่างไรกันนน

2. の人は ตอนที่พูด ตัวเราคิดว่า พูดฟังน่าจะรู้จักตัวละครที่เรากำลังพูดถึง เลยเลือกที่จะให้ あのพราะรู้จักกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่จากที่ได้เกริ่นมาตอนแรก เราถามผู้ฟังว่า รู้จักมั๊ย ก็แสดงว่า เราคิดว่า ผู้ฟังไม่รู้จักคนคนนี้แน่เลย ดังนั้นมันจึงขัดแย้งกันเล็กๆ จึงควรจะแก้ไขตรงนี้เป็น その人 น่าจะดีกว่านะ

3. 美人な人 ตรงคำว่า な人 ไม่จำเป็นต้องใส่แล้ว เพราะคำว่า 美人 มันก็แสดงความหมายว่า คนสวย แล้ว

4. それを言っても สิ่งที่ตั้งใจจะพูดก็คือ แม้ว่าจะพูดอย่างนั้นก็เถอะ เลยแปลตามประโยคของภาษาไทยมาเลย และก็ไม่รู้ว่า ในภาษาญี่ปุ่นพูดได้หรือเปล่า ปรากฏลองหาดู ไม่มีรูปประโยคแบบนี้เลย เลยคิดว่า ควรจะลองเปลี่ยนรูปแบบประโยคใหม่ดู นั่นก็คือ そのおかけで、かっこよくて、親切な彼氏が出来たの。

5. 掃除していた ตอนแรกที่ใส่ ていたก็เพราะว่า นึกถึงการกระทำในช่วงเวลาหนึ่ง ในอดีต เลยตัดสินใจเลือกใช้ไวยกรณ์ ていたแต่ในประโยคนี้ควรจะแก้เป็น ているเพราะการบอกเรื่องราวในอดีตของเราจะแสดงให้เห็นอยู่ที่ถ้ายประโยคแล้ว

6. の二人 การเลือกใช้ ตรงนี้นั้น เหตุผลเดียวกับที่ผ่านมาเลยคือ คิดว่า ผู้ฟังรู้จักทั้งคู่แล้ว จึงเลือกใช้  แต่ในประโยคเกริ่น เรากำลังเล่าเรื่องใหม่ให้ผู้ฟัง ดังนั้นเราจึงควรใช้ その二人มากกว่า

7. 話していて、田中先生に呼ばれた อ.บอกว่า กริยา 2 ตัวนี้ มันดูงงๆ เหมือนไม่เชื่อมโยงกัน หรือยังไง เพราะมี  มา ซึ่งตัวเองก็ไม่รู้ด้วยว่า ต้องแก้ไขอย่างไร ฮ่าๆ ต้องไปถามหาผู้รู้และมาตอบคำถามนี้ให้ได้แล้ว!!(ติดคำตอบเอาไว้ก่อนนะ เดี๋ยวจะหาคำตอบมค่า)

8. 整形していない写真 ประโยคนี้ไม่ควรจะผิดเลยยย เพราะมันเป็นอดีตไปแล้ว ผู้หญิงคนนี้ได้ทำศัลยกรรมไปแล้ว ดังนั้นจึงควรแก้เป็น整形していなかった写真 หรือ 昔の写真 ก็สามารถพูดได้เช่นกัน

9. エーちゃんはそれを見て ที่เลือกใช้ それをก็เพราะว่า ต้องการจะใช้ それ แทนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า แต่การย่อแบบนี้ไม่สามารถใช้ได้ เพราะเนื้อเรื่องจะไม่รู้ว่า それ จะหมายถึงอะไร และจะทำให้ผู้ฟังเกิดความงงงวยว่า มันคืออะไร จึงควรจะแก้ไขเป็น エーちゃんは、彼氏が昔の写真を見ちゃったのを見て จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายมากขึ้น

10. どうしたらいいか全然分からなかった ตรงประโยคนี้ ถ้าเราจบด้วย分からなかった จะเหมือนเป็นการกระทำของตัวเราเอง ซึ่งในความหมายที่ตั้งใจจะสื่อคือ เป็นการกระทำของผู้หญิงคนนี้ ว่า เขาไม่รู้จำทำอย่างไร จึงควรจะแก้ไขเป็น どうしたらいいか全然分からなかったみたいのよ

11. 彼はカツラを取って、はげ頭になっちゃった กริยา 2 ตัวนี้ไม่สามารถที่จะใช้ประธานตัวเดียวกัน หรือใช้ประโยคเชื่อมต่อกันได้ เพราะ 取るเป็น 他動詞 ซึ่งต้องมีประธานเป็นคนกระทำกริยา แต่ になる เป็น 自動詞ซึงเป็นการบอกการเปลี่ยนแปลง หรือสภาพที่กลายเป็นสิ่งนั้น จึงควรจะแก้เป็น แบ่งประโยคเป็น 2 ประโยค คือ彼はカツラを取った。はげ頭だったのよ。หรือจะทำเป็นประโยคเงื่อนไข ได้ว่า彼はカツラを取ったら、はげ頭だったのよ。

12. ショックそうな顔をしていた  ประโยคนี้ไม่รู้จริงๆว่า จะต้องแก้ไขตรงไหน TTTTTT (ติดไว้ก่อนน จะต้องไปตามผู้รู้ซินะ)

 

หลังจากอ่านของตัวเองรู้สึกได้ทันทีว่า มันไม่สนุกเลยยยย เหมือนเป็นการเล่าเรื่องเฉยๆ จะทำอย่างไรให้เล่าให้สนุกละ อ.ได้แจกตัวอย่างของคนญี่ปุ่นมาให้ดูกัน เพื่อเปรียบเทียบกับของตัวเอง ก็ได้เจอเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่คนญี่ปุ่นเขาใช้กัน

1. เพื่อพูดให้ดูตื่นเต้น น่าฟัง น่าสนใจมากขึ้น ควรจะใช้ 表現เหล่านี้

             ねえ、ねえ、聞いてよ

            そこで何と言ったと思う?

            何したと思う?

            どうしてか分かる?

 

2. คำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

             大ピンチ ตายแน่ๆ

             つるつる (ผิว) ลื่นๆ

             ぴかぴか เป็นเงางาม (แสง)วับๆ

              。。。がばれちゃった (ความลับ) ถูกเปิดเผย

              振られる ถูก(แฟน)ทิ้ง



ยังมีคำถามที่ยังไม่ได้คำตอบอยู่ 2 ข้อ เดี๋ยวจะรีบมาไขความข้องใจนะค่าาาา